วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทง

ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔ขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน ๑๒
ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง
 เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคมลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดียการลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"
ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า

        "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง"

   ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย





    ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว
เรื่องน่ารู้ใน วันลอยกระทง

คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทง

           คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้
          1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
          2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์ 
             อยู่ในมหาสมุทร
          3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำ
              พรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
          4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที
            เมื่อคราวเสด็จไป แสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
          5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
          6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
          7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึก
           หรือสะดือทะเล
ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย
         
การลอยกระทงในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา
การลอยกระทงในปัจจุบัน

         
การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา
ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ 
เหตุผลของการลอยกระทง
สรุปเหตุผลของการลอยกระทงในประเทศไทยดังนี้
          1. เพื่อขอขมาแม่คงคา เพราะได้อาศัยนำท่านกินและใช้ และอีกประการหนึ่งมนุษย์มักจะทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูลลงไปในนำด้วย
          2. เพื่อสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมทานที ซึ่งประพุทธเจ้าทรงประทับรอยพระบาทประดิาฐานไว้บนหาดทรายที่แม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย
          3. เพื่อลอยทุกข์โศกโรคภัย และสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์
          4. เพื่อบูชาพระอุปคุต ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพแกพระอุปคุตอย่างสูง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มากสามารถปราบพญามารได้ การลอยกระทงไม่มีพิธีรีตอง เพียงแต่ขอให้มีกระทงจะทำด้วยอะไรก็ได้ เช่น ใบตอง การกล้วย กาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว กระดาษ จุดธูปเทียนปักที่กระทงแล้วอธิษฐานตามที่ตนปรารถนา เสร็จแล้วจึงลอยไปที่แม่นำลำคลอง
           การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเทศกาล
"สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง" เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน นอกจากจะมีกิจกรรมเด่น ในหลายพื้นที่ เช่น งานลอยกระทงกรุงเทพมหานคร, ประเพณีลอยกระทงเผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย, ประเพณียี่เป็ง จังหวัดเชียงใหม่, ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีปพันดวงฯ จังหวัดตาก และประเพณี ลอยกระทงตามประทีป จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากนี้แล้วยังเป็นการส่งเสริมประชาสัมพันธ์งานประเพณีลอยกระทงให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ (World Events) เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเดินทางของนักท่องเที่ยวตลอดเดือนต่อไป
วัตถุประสงค์
           1. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และฟื้นฟู   
ประเพณี อันดีงามของไทย(โดยเฉพาะประเพณีลอยกระทงของแต่ละท้องถิ่น) ไว้สืบทอดต่อไป
           2. เพื่อส่งเสริมให้งานประเพณีลอยกระทง เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยว โดยสามารถนำเสนอในรายการนำเที่ยวเป็นประจำทุกปี ในอนาคตอย่างยั่งยืน
          3. เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยวและรายได้ พร้อมทั้งขยายวันพักของนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ
          4. เพื่อกระตุ้นให้เกิดกระแสการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศในช่วงเทศกาลประเพณีลอยกระทง และการท่องเที่ยวทางน้ำตลอดเดือนพฤศจิกายน
                              The history of Loi Krathong festival
               Loi Krathong festival is a Thai tradition which has been conducted for a long time ago. Loi Krathong has been held since the middle of the eleventh to the middle of the twelfth lunar month, which is a great flood season- especially on the full moon night of the twelfth lunar month. When the moon shines at night, it makes rivers clear. It is very beautiful scenery which is suitable for floating krathong
  
             In the past, we called Loi Krathong as Chong Pa Rieng- floating lantern of royal ceremony. It is a Brahman festival to worship Gods- Siva, Vishnu, and Brahma. When Thai people adopted Buddhism, they adapted this ceremony to honor the Buddhas cremated bone- the original Buddha at the second heaven ruler. They floated lantern to worship the foot-print of the Buddha on Nammathanati River beach in India.

                Floating krathong along the river was created by Nang Noppamas; the most favorite concubines Sukhothai king. She made krathong as lotus-shaped. The king of Sukhothai floated it along the river. According to Sri Chula Lucks treatise, Phra Ruang (Sukhothai king) said From now on, on the full moon night of the twelfth lunar month, kings of Siam have to make floating lantern- like lotus-shaped- to worship the foot-print of the Buddha on Nammathanati River for ever after
     In Rattanakosin period, people often made big and beautiful krathong. According to Chao Phraya Dhipharachawongs historical annals said:-
     In the twelfth lunar month on 14 and 15 waxing moon, I ask for members of the royal family and civil servants making big-sized krathongs- look like banana trunk rafts, they size 8-9 sauk width (an ancient Thai measure of length) and 10-11 sauk tall. They make for contesting each other. For example, some imitate krathong as Mount Meru - shaped and others make krathong as basket decorated with flowers. There are a lot of people to do these so they use a lot of money- about 20 chung (an ancient measure of weight).
                Nowadays, Loi Krathong festival is held in mostly Thai provinces. Particularly in Chiangmai, it has krathong parade, contestation of making krathongs, and Noppamas beauty pageants contest
              The villagers in northern and north-eastern parts of Thailand often float lanterns. They are made of color paper. If they float in the afternoon, they will use smoke for floating lanterns while they use torch to set smoke in lanterns to float them in wind chill at night. We can see the light from lantern in the sky with moonshine and stars glitter at night, which is very beautiful.

                             Interesting stories about Loi Krathong
There are many legends of Loi Krathong:-
            
1. Loi Krathong is to ask for forgiveness Pra Mae Khongkha.
             2. According to Brahma belief, Loi Krathong is to worship God.
             3. Loi Krathong is to welcome Buddha when he came back to the world- he had stayed in the      Buddhist temple during the rainy season at the second heaven ruler to teach his mother.
            4. Loi Krathong is to worship foot-print of Buddha on the Nammathanati River beach.
             5. Loi Krathong is to worship Chulamanee in the heaven where the Buddhas hair is buried.
            6. Loi Krathong is to worship Bhakabhrama in heaven.
            7. Loi Krathong is to worship Uppakutta-dhera who observed religious precept at the middle      portion of the sea.

L­oi Krathongs history in Thailand
          
Loi Krathong in Thailand originated in Sukhothai period as Loy Phra Pra Teip or Loy Khom (floating lantern). It is a festival of Thai people. After that, Noppamas- the most favorite concubines Sukhothai king - created krathong, like lotus-shaped, for floating in the river. Instead of floating lantern, it used for worshipping the foot-print of Buddha at Nammathanati River beach in Thakkhinabodh district, India. As we called Nehrabhuddha river.Loi Krathong at the present
                Nowadays, Thai people still keep form suitably; on the full moon of the twelfth, people usually prepare natural materials to make krathong. For example, they use banana trunk and lotus to make beautiful krathong then stick candle, incense stick, and flow
 
              At the temples and tourist places, they held contestation of making krathong and Noppamas beauty pageants contest. There are many entertainment shows at night. Moreover, they set cautiously fireworks. The materials, used for making krathong, could be easily decomposed

Reasons for Loi Krathong
           We can conclude the reasons for Loi Krathong in Thailand that:-
          1. To ask for forgiveness Pra Mae Khongkha because we use and drink water. Moreover, we      often throw rubbishes and excrete wasted things in the water.
          2. To worship the foot-print of the Buddha on Nammathanati River beach in India.
          3. To fly away misfortune and bad things like floating sin- Bhrama ceremony.
       
   4. To pay respect to Uppakhud whom mostly northern villagers show their gratitude for.      According to legend, he was a monk who had supernatural to kill Mara.
           Krathong could be made from anything else such as banana leaves, banana trunks, coconut      barks, paper, and etc. Stuck with incense stick and candle to make a wish and float it in the river


วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ : อาเซียน (ASEAN)

              สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,570 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคนในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นลำดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ
                อาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไป ต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ  หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียน ได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้นเขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558

วัตถุประสงค์ ในการก่อตั้ง
1. เพื่อร่วมมือช่วยเหลือกันในการพัฒนาความเจริญทางเศรษฐกิจ และความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรมของประเทศสมาชิก
2. เพื่อส่งเสริมสันติภาพ และความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
3. เพื่อให้ความร่วมมือในการส่งเสริมด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การค้าและการคมนาคมขนส่ง
4. เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางด้านการศึกษา อาชีพ วิทยาการ และ การบริหาร
สัญลักษณ์



        สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

แผนที่ของภูมิภาคASEAN
สำนักงานเลขาธิการ อยู่ที่กรุงจาร์กาตาร์ ประเทศอินโดนีเชีย
เลขาธิการอาเซียน คนปัจจุบัน (ข้อมูล ณ ปี 2009)  :  ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (ไทย)


ความร่วมมือทางการเมือง
            อาเซียนตระหนักดีว่า ภูมิภาคที่มีสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง และความเป็นกลางจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่ส่งเสริมการพัฒนาประเทศให้เจริญรุดหน้า จึงได้ร่วมกันสร้างประชาคมอาเซียนให้เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ และสร้างเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันในระหว่างประเทศสมาชิก ผลงานที่สำคัญที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ คือสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC ) การประกาศให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง (Zone of Peace, Freedom and Neutrality: ZOPFAN ) การก่อตั้งการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ASEAN Regional Forum: ARF ) และสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Nuclear Weapon-Free Zone Treaty: SEANWFZ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
            ปรากฏการณ์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ของโลก และการแข่งขันทางการค้าที่เพิ่มมากขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้อาเซียนตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องรวมตัวกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เพื่อปรับแนวการดำเนินนโยบายของตนให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในปี 2535 อาเซียนจึงได้ตกลงจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน(ASEAN Free Trade Area: AFTA ) ขึ้น เพื่อที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกัน โดยการลดภาษีศุลกากรให้แก่สินค้าส่งออกของกันและกัน และดึงดูดการลงทุนจากภายนอกภูมิภาคให้เข้ามาลงทุนในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนนี้จะบรรลุผลสมบูรณ์สำหรับสมาชิก 6 ประเทศแรกในปี 2546 ตามด้วยเวียดนามในปี 2549 ลาวและพม่าในปี 2551และกัมพูชาในปี 2553 นอกจากนี้ อาเซียนยังได้มีมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการค้าการลงทุน และความร่วมมือกันในด้านอุตสาหกรรม การเงินและการธนาคาร และการบริการระหว่างกัน ที่สำคัญ ได้แก่ โครงการความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมอาเซียน(ASEAN Industrial Cooperation: AICO ) และ เขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN
Investment Area: AIA ) เป็นต้นนอกจากนี้ เพื่อให้อาเซียนเติมโต มีความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ และมีความมั่งคั่งร่วมกัน อาเซียนได้มีข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI ) ขึ้น เพื่อที่จะลดช่องว่างทางการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและใหม่ของอาเซียนด้วย
ไทยกับอาเซียน
           ประเทศไทยเป็นหนึ่งใน 5 ของสมาชิกผู้ก่อตั้งและเป็นจุดกำเนิดของอาเซียน ไทยมีบทบาทอย่างแข็งขันในกิจกรรมของอาเซียนตลอดมา รวมทั้งยังมีส่วนผลักดันให้อาเซียนมีโครงการความร่วมมือในด้านต่างๆ ที่ทันการณ์และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ระหว่างประเทศ อาทิ การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การประชุมอาเซียนว่าด้วยความ
         ร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะเดียวกันอาเซียนก็มีความสำคัญต่อประเทศไทยโดยนอกจากจะสร้างพันธมิตรและความเป็นปึกแผ่น ตลอดจนเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคแล้ว ยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการเจรจาระหว่างประเทศ และร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาข้ามชาติ และการพัฒนาขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมภายในอาเซียนได้เปิดโอกาสให้มีการขยายตัวด้านการค้าและการลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งนำผลดีมาสู่เศรษฐกิจของประเทศไทยและของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยส่วนรวม
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย
1. ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางด้านการค้า ด้วยการได้ลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร
2. ด้านอุตสาหกรรม ไทยได้รับสิทธิในการผลิตเกลือหิน และโซดาแอช ตัวถังรถยนต์
3. ด้านการธนาคาร จัดตั้งบรรษัทการเงินของอาเซียน จัดตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการประกันภัยแห่งอาเซียน
4. ด้านการเกษตร การสำรองอาหารเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โครงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โครงการปลูกป่า
5. ด้านการเมือง สมาชิกของอาเซียนช่วยแบ่งเบาภาระของประเทศไทยเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ
6. ด้านวัฒนธรรม มีโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิก ทำให้แต่ละประเทศมีความเข้าใจดีต่อ  กัน
               ประเทศไทยมีบทบาทเชิงรุกทั้งในแง่การก่อตั้งและการพัฒนาให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีความสำเร็จ เพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของภูมิภาคนี้ ในส่วนของการก่อตั้ง ไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งอาเซียนในปี พ.ศ. 2510 ในส่วนของการพัฒนา ไทยยังมีบทบาทที่สำคัญ ดังนี้
              1.มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพในกัมพูชา 
              2. การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) ในปี พ.ศ. 2535 
              3.  ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก หรือ ARF- ASEAN     Regional Forum ซึ่งเป็นเวทีที่ใช้พูดคุยปัญหาความมั่นคงในภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2537 
              4. ความริเริ่มเชียงใหม่และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี พ.ศ. 2540
ลักษณะภูมิศาสตร์
ในปัจจุบัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 10 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 590 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2553) ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาข่ากาโบราซีในประเทศพม่า ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังคลาเทศ
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C  พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ำมันและพริกไทย

ไฟล์:ASEAN HQ 1.jpg
          สำนักงานเลขานุการอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย
               
              ไฟล์:ASEAN Flags.jpg
                                 ธงประเทศต่างๆ ในอาเซียน




วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร

...........ความเชื่อเรื่องพระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดนี้ ไม่ใช่ข้อวัตรปฏิบัติหรือปรากฏในหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา แต่เป็นคติความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ความเชื่อนี้จะมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ พบว่ามีบันทึกอยู่ในตำราพื้นเมืองโบราณ สรุปใจความได้ว่า ก่อนที่วิญญาณจะมาปฏิสนธิในครรภ์ของผู้เป็นมารดานั้น วิญญาณจะลงมา ชุธาตุ ซึ่งหมายถึงการที่ดวงวิญญาณจะลงมาพักอยู่ที่เจดีย์แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมี ตั๋วเปิ้ง (สัตว์ประจำนักษัตร) พามาพักไว้ และเมี่อได้เวลา ดวงวิญญาณก็จะเคลื่อนจากพระเจดีย์ ไปสถิตอยู่บนกระหม่อมของผู้เป็นบิดาเป็นเวลา 7 วัน ก่อนที่จะเคลื่อนเข้าสู่ครรภ์ของมารดา และเมื่อเสียชีวิตลงแล้ว ดวงวิญญาณก็จะกลับไปพักอยู่ที่เจดีย์นั้นๆตามเดิม
...........นดังนั้น บุคคลซึ่งเกิดในปีนักษัตรใดก็ตาม สมควรที่จะหาโอกาสไปกราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตน ให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นมงคลแก่ชีวิต มีอานิสงส์สูงและจะทำให้มีอายุยืนนาน รวมถึงเชื่อว่าหากสิ้นชีพไป ดวงวิญญาณจะได้กลับไปยังพระธาตุองค์นั้น ไม่ต้องเร่ร่อนไปในทุคคติภพอื่นๆ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เองที่แพร่หลายไปสู่หลายๆพื้นที่ของประเทศ ก่อให้เกิดคติความเชื่อเช่นเดียวกันนี้ แต่จะแตกต่างกันบ้าง ในส่วนของเจดีย์ประจำปีนักษัตรต่างๆ อีกทั้งยังพบว่ามีคติความเชื่อเรื่องพระธาตุประจำวันเกิด ซึ่งเป็นเจดีย์ที่อยู่ในเขตจังหวัดนครพนมเพียงจังหวัดเดียวอีกด้วย
...........นเมื่อพิจารณาถึงความเชื่อเรื่องนี้แล้ว ถือได้ว่าเป็นความชาญฉลาดของบรรพชนชาวล้านนา ที่สอนให้ลูกหลานมีความเคารพในพระรัตนตรัย และเหตุที่ให้นับถือพระเจดีย์องค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษ อาจเป็นไปได้ว่า การเดินทางไปสักการะพระเจดีย์แต่ละองค์ในสมัยโบราณนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากการเดินทางที่ยากลำบาก จำเป็นต้องใช้ความวิริยะและอุตสาหะอย่างสูง ดังนั้นการได้ไปกราบไหว้พระธาตุเจดีย์แม้เพียงองค์ใดองค์หนึ่ง ย่อมก่อให้เกิดความชื่นอกชื่นใจแก่สาธุชนผู้มีความมุ่งมั่นในการเดินทางไปกราบไหว้ ภาพพระธาตุเจดีย์ที่ตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า จะก่อให้เกิดความปีติสุขและความอิ่มอกอิ่มใจเอ่อท้น ประทับติดตรึงตราอยู่ภายในใจ เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายถึงกาละแตกดับไปตามธรรมชาติ จิตก่อนตายจะไขว่คว้าหาบุญกุศลที่เคยทำมา เมื่อนั้น ภาพการไปกราบไหว้พระธาตุเจดีย์ และความรู้สึกสุขใจในบุญกุศลจะปรากฏสว่างไสวในจิต ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยให้ไปสู่สุคติภพได้โดยไม่ยากนัก
พระธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร
คนเกิดปีใจ้ [ปีชวด นักษัตรหนู ธาตุน้ำ]
พระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 
ประดิษฐาน :: พระทักษิณโมลีธาตุ(กระดูกกระหม่อมเบื้องขวา)
คำบูชาพระธาตุ
นะโมพุทธายะ นะมามิ ติโลกะโมลี โลหะกูเฏ ปะติฏฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ กิตฺติมันตัง มะโนหะลัง อะหังวันทามิ สัพพะทาฯ อังคะวะหะเย ปุเรระมะเน โกวิลา ลัคฺคะปัพพะตา สะหิเหมะคูหา คัพฺเภ ทักขิณะโมลี ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะทาฯ
คนเกิดปีเป้า [ปีฉลู นักษัตรวัว ธาตุดิน]พระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง 
ประดิษฐาน :: พระเกศาธาตุ พระธาตุส่วนพระนลาฏ(หน้าผาก) และพระศอ(ลำคอ)
คำบูชาพระธาตุ
ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง ปะติฏฐาสัมภะ กัปปะปุเร เทเวนะคุตตา อุตตะราภิทัย ยานะมามิหันตัง วะระชินะธาตุง
คนเกิดปียี [ปีขาล นักษัตรเสือ ธาตุไม้]พระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ 
ประดิษฐาน :: พระเกศาธาตุ และ พระบรมธาตุข้อศอกข้างซ้าย
คำบูชาพระธาตุ
โกเสยัง ธะชัคคะ ปัพพะเต พุทธะธาตุ ปะติฏฐิตัง ปะสันเนนะ อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส
คนเกิดปีเหม้า [ปีเถาะ นักษัตรกระต่าย ธาตุน้ำ]พระธาตุแช่แห้ง อ.ภูเพียง จ.น่าน
ประดิษฐาน :: พระเกศาธาตุ และ พระบรมธาตุข้อพระหัตถ์ข้างซ้าย
คำบูชาพระธาตุ
ปายาตุภูตา อะตุรานุภาวะจีรัง ปะติฏฐิตา นันทะกัปปัฏฐานะปุระ เทเวนะคุตตา วะระพุทธาตุจิรัง อะหังวันทามิ ตังชินะธาตุง เสตะฐานะ อะหังวันทามิ ทูระโตฯ
คนเกิดปีสี [ปีมะโรง นักษัตรพญานาค ธาตุดิน]พระเจดีย์วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 
ประดิษฐาน :: พระบรมสารีริกธาตุ
คำบูชาพระธาตุ
อิติปะวะระสิหิงโต อุตตมะยะโสปิ เตโช ยัตถะ กัตถะ จิตโตโส สักกาโร อุปาโท สะกาละพุทธะ สาสะธัง โชตะยันโตวะ ทีโป สุระนะเรหิ มะหิโต ธะระมาโนยะ พุทโธติ
หมายเหตุ :: บางตำรากล่าวว่าองค์พระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) คือพระเจดีย์ประจำปีมะโรง แต่อย่างไรก็ดี ทั้งองค์พระสิงห์และพระเจดีย์วัดพระสิงห์ ต่างก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดเดียวกัน
คนเกิดปีใส้ [ปีมะเส็ง นักษัตรงูเล็ก ธาตุน้ำ]โพธิบัลลังก์ วิหารมหาโพธิเจดีย์ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
ประดิษฐาน :: พระแท่นวัชรอาสน์
คำบูชาพระธาตุ
ปฐมัง โพธิปัลลังกัง ทุติยัง อนิมมิสสะกัง ตะติยัง จังกะมะเสฏฐัง จตุตถัง ระตะนะฆะรังปัณจะมัง อะชะปาละนิโครธังฉัฏฐัง ราชายะตะนัง สัตตะมัง มุจจะลินทัง อะหัง วันทามิ ทูระโต
หมายเหตุ :: เนื่องจากสถานที่ประดิษฐานโพธิบัลลังก์อยู่ไกล นอกเขตพระราชอาณาจักร จึงอนุโลมเป็นพระเจดีย์ที่มีลักษณะใกล้เคียงวิหารมหาโพธิเจดีย์ ได้แก่ พระเจดีย์วัดโพธารามมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ หรือต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ปลูกตามวัดทั่วไปก็ได้
คนเกิดปีสะง้า [ปีมะเมีย นักษัตรม้า ธาตุไฟ] พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า
ประดิษฐาน :: พระเกศาธาตุ
คำบูชาพระธาตุ
พุทโธพุทธะ หัตถะฏะฐิ พุทธะเจติยะ คันธะวะรัง สะวาตะถิยัง อะหังวันทามิ สัพพะทา

หมายเหตุ :: เนื่องจากพระเกศธาตุเมืองตะโก้ง (พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง) อยู่ไกล นอกเขตพระราชอาณาจักร จึงอนุโลมเป็นพระเจดีย์ที่มีลักษณะใกล้เคียง ได้แก่ พระธาตุชเวดากอง วัดพระบรมธาตุ จ.ตาก แทนได้
คนเกิดปีเม็ด [ปีมะแม นักษัตรแพะ ธาตุดิน]
พระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ประดิษฐาน :: พระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากสุโขทัย ซึ่งองค์พระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมา ได้กระทำปาฏิหาริย์ แบ่งเพิ่มจาก 1 องค์ เป็น 2 องค์ ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้ากือนา พระบรมสารีริกธาตุองค์ที่แสดงปาฏิหาริย์แบ่งมาเพิ่มนั้น ได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระเจดีย์วัดสวนดอก ส่วนองค์เดิมได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่นี่
คำบูชาพระธาตุ
สุวัณณะเจติยัง เก สะวะระมัตถะลุงคัง วิรัญญะธาตุง สุเทวะนามะกัง นะระเทเวหิ สัพพะปูชิตัง อะหังวันทามิ สัพพะทา

 คนเกิดปีสัน [ปีวอก นักษัตรลิง ธาตุดิน]พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
ประดิษฐาน :: พระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก)
คำบูชาพระธาตุ
ปันนะศิริสะมิง ปัพพะเต อุตะมังธาตุ เหทะยัง วะละจิตตัง เสฐะวะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา
หมายเหตุ :: พระธาตุพนมเป็นพระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดเพียงองค์เดียว ที่ประดิษฐานอยู่ในภาคอิสานของประเทศไทย และถือเป็นพระธาตุเจดีย์ประจำคนเกิดวันอาทิตย์อีกด้วย
คนเกิดปีเร้า [ปีระกา นักษัตรไก่ ธาตุเหล็ก]พระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน 
ประดิษฐาน :: พระบรมธาตุส่วนกระหม่อม หน้าอก นิ้วพระหัตถ์ พระเกศาธาตุ และพระธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง
คำบูชาพระธาตุ
สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฐฐังวะระ โมลีธาตุรัง อุฬเสฏฐัง สะหะอังคุละผัฏฐัง กัจจายะโน นามิตปัตตะ ปุรังสิเนนะ เมยหัง ปะนะนามิธาตุง สิระสา นะมามิ อะหังวันทามิ ทูระโตฯ
คนเกิดปีเส็ด [ปีจอ นักษัตรหมา ธาตุดิน]พระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ประดิษฐาน :: พระบรมธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องขวาบน พระจุฬาโมลี(มวยผม)
คำบูชาพระธาตุ
ตาวะติงสาปุเร รัมเม เกสา จุฬามณี สรีระปัพพะตา ปูชิตา สัพพะเทวานังตัง สิระสา ธาตุ มุตตะมังอะหัง วันทามิ สัพพะทา
หมายเหตุ :: ตำรากล่าวว่าพระเจดีย์ประจำปีจอคือ พระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ ที่ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ ทำให้มนุษย์ทั่วไปไม่สามารถไปบูชาด้วยตนเองได้ จึงอนุโลมเป็นพระเจดีย์ที่มีชื่อพ้องกัน คือ พระเจดีย์วัดเกตการาม หรือพระธาตุอินทร์แขวน ประเทศพม่าแทนได้
คนเกิดปีใค้ [ปีกุน นักษัตรช้าง หรือหมู ธาตุน้ำ]พระธาตุดอยดุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย 
ประดิษฐาน :: พระบรมธาตุส่วนพระศอ และพระรากขวัญ(กระดูกไหปลาร้า) เบื้องซ้าย
คำบูชาพระธาตุ
อิมัสสะมิง ภัทกะกัปเป จะตุพุทธา พุชูฌะติตะวา กะกุสะนูระ โกนาคะมะนะ กัสสะปะ โคตะมะราชะคะเห จะระติปิณะฑายะ มิถิลายะนะคะเรสิ จะรัตติ ปิณะฑายะ อะตะตีตา พุทธาเน อิมัสะมิง ปัพพะตาคิริ ปะทะกังนะสิทิตะวา เมตเตยยะ อะนาคะเต จะระติปิณะฑายะ ราชะคะเห อิมัสะมิง ฐาเนนะสิทิสิริ สุภปะวะรังมะคะโล ตะโมลากะถามุนิราชะ สาตะระนะมามิหันตัง วะระชินะธาตุง อะหังวันทามิ สัพพะทานะตัง วะชิระธาตุโย อะระหังวันทามิ สัพพทา
หมายเหตุ :: บางตำรากล่าวต่างไปว่า พระธาตุดอยตุง เป็นพระธาตุประจำคนเกิดปีกุนข้างขึ้น สำหรับคนเกิดข้างแรม พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุดอยกองมู จ.แม่ฮ่องสอน

ขอบคุณ

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

10 อันดับ สัตว์ หายากที่สุดในโลก

10 Red Wolf 
หมาป่าชนิดนี้มีขนาดเล็ก และ ผอมกว่าหมาป่าสีเทา พื้นที่ที่มันอาศัยอยู่มีขนาดถึง 1.7 ล้านเอเคอร์นับจาก ฟอลริด้า และเท็กซัส ถึง Calorina(ใหญ่กว่าป่าร้อยเอเคอร์ในหมีพูห์เป็นไหนๆ)ตอนเหนือในปี 1980 มีเพียง 20 ตัวเท่านั้นที่ไม่ใช่พันธุ์ทางปัจจุบันมีจำนวนมากถึง 207 ตัว และ 100 กว่าตัวอยู่ในพื้นที่ป่า
 

9 Iberian Lynx 
มันเป็นหนึ่งในแมว(?)ที่ใกล้สูญ พันธุ์มากที่สุด 36 สายพันธุ์ มันถูกฆ่าด้วยกับดักที่ใช้ดักกระต่ายบ่อยๆ หรือไม่ก็ ถูกรถชน รัฐบาลสเปนศึกษาในปี 2005 พบว่าเหลือเพียง 103 ตัวเท่านั้นลดลงมาจาก 400 ตัวในปี 2000 ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก
8 Tamaraw (Dwarf Water Buffalo) 
พบใน เกาะmindoro ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ในปี 1900 มันมีจำนวนถึง 10000 ตัว 120 ตัวในปี 1975 370 ตัวในปี 1987 ในปี 2002 เหลือเพียง 30 ถึง 200 ตัวเท่านั้นปัจจุบันเป็นสัตว์สงวนและห้ามล่าโดยมีกฏหมายลงโทษอย่างรุนแรง
7 Northern Hairy-nosed Wombat 
ในศตวรรษที่ 19 วอมแบตชนิดนี้พบได้ใน New South Wales และ Victoria แต่ปัจจุบันพบในอุทยานเล็กๆใกล้กับ Epping Forest Station ในรัฐควีนแลนด์ ออสเตรเลีย ซึ่งถูกสงวนไว้ ปัจจุบันเหลือประมาน 133 ตัวเท่า นั้น รัฐบาลออสเตรเลียได้ให้งบในการขยายพันธุ์ไว้ 250000 เหรียญต่อปี
6 Hispid hare 
หรืออีกชื่อหนึ่ง bristly rabbit พบบริเวณภูเขาหิมาลัย หูสั้น ขาหน้าและขาหลังมีขนาดไม่ต่างกันมาก เหลือเพียงประมาณ 100 กว่าตัวเท่าที่พบ
5 Javan Rhino 
แรดชนิดหนึ่งเหลือเพียงไม่ถึง 60 ตัวพบได้ในอินโดนิเซียและเวียดนาม มันถูกผู้คนในท้องถิ่นล่าเพื่อนำเขาของมันไปขาย หรือทำยา มันเสี่ยงต่อโรคระบาดมาก จึงเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่ง
 
4 Seychelles Sheath-tailed Bat
 ค้างคาวชนิดนี้เหลือเพียงไม่ถึง 100 ตัวในโลก พบในเกาะ seychelles ในหมู่เกาะมาดากัสการ์ ปัจจุบันต้องการการสำรวจวิจัยว่าพวกมันมีการกินอยู่อย่างไร เราต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อที่จะเพิ่มจำนวนของมัน ด้วยการมุ่งจะเพิ่มจำนวนของมันอย่างหนัก ในระยะยาวอาจเพิ่มได้ถึง 500 ตัว
3 The Vancouver Island Marmot 
มาร์มอทชนิด นี้พบในภูเขาสูงของเกาะแวนคูเวอร์ เคยมีจำนวนต่ำกว่า 75 ตัว ในปี 2005ได้รับการเพาะพันธุ์จนมีจำนวน 150 ตัว(รวมตัวอ่อน) เป้าหมายที่คาดสูงสุดคือการจะทำให้มันมีจำนวนถึง 400 ตัว
2 Baiji (Yangtze River Dolphin) 
ปลาโลมาชนิดหนึ่ง สัตว์ที่หายากที่สุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่สิบตัวเท่านั้นจะพบในแม่น้ำหรือทะเลสาบที่น้ำใส สะอาดเท่านั้นสาเหตุของการที่หลงเหลือน้อยมาจากความสกปรกของแหล่งน้ำ การประมง อุปกรณ์จับสัตว์น้ำ
1 The Pinta Island tortoise 
หนึ่งในเพียงไม่กี่ชนิดของเต่ายักษ์แห่งกาลาปากอส สัตว์ที่หายากที่สุดในโลกปัจจุบันเหลือเพียง 1 ตัวเท่านั้น เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเกาะกาลาปากอส อีกทั้งยังมีประกาศว่าจะมอบเงินจำนวน 10000$ แก่ผู้พบเต่าตัวเมียชนิดนี้

ที่มา : TOPTENTHAILAND.Com